เรื่องเงินเก็บ ตอนสมัยเพิ่งทำงานเดือนแรก
เคยมีรุ่นพี่โปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้วยกันเคยพูด
ให้ฟังว่า
“คนเราต้องมีเงินเก็บนะ จะบาท สองบาทก็ได้
แต่ต้องให้เหลือเก็บทุกเดือน เพราะถ้าได้เงินมา
แล้วใช้หมด ก็ไม่ต้องมาทำงานกินเงินเดือนหรอก
ไปเก็บผักเก็บหญ้ากินก็ได้ ไม่ต้องมาเหนื่อยให้เขา
โขกสับด้วย”
ประโยคนี้ทำให้ผมเข้าใจแจ่มแจ้งเลยว่า
ทำไมเราถึงควรมีเงินเก็บทุกเดือน และนั่น
ก็เป็นจุดเริ่มต้น ให้ผมเริ่มวางแผนทางการเงิน
วันนี้ผมจะมาบอกวิธีการเก็บเงินของผม
จะไม่ลงลึกรายละเอียดมาก และพูดกันใน
ฐานเงินเดือน 15,000 บาท ไปดูกันครับ
เฟสแรก เงินเก็บ = เงินสำรองฉุกเฉิน
ผมเริ่มทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบจริงจัง
ตอนอายุประมาณ 24 ปี โดยได้เงินเดือนประมาณ
15,000 บาท (รวมโอที) ตอนนั้นผมเก็บเงิน
เข้าบัญชีทันที 3,000 บาท เงินจำนวนนี้ผมเก็บ
เอาไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ไว้ใช้จ่ายประมาณ
6 เดือน
ระหว่างที่ทำงานประจำ ผมใช้จ่ายประหยัดมาก
แต่ก็มีหลุดไปซื้อสมาร์ทโฟนตัวแพงอยู่หลายครั้ง
เหมือนกัน แต่ทุกครั้งผมจะพยายามเก็บเงินสำรอง
ฉุกเฉินไว้ให้ได้
ความจริงจะเก็บเท่าไหร่ก็ได้ แต่ขอให้อย่าน้อยกว่า
1,000 บาท เพราะเป็นจำนวนที่ไม่น้อยจนเกินไป
จนรู้สึกว่าเก็บเท่าไหร่ก็ไม่มากพอสักที
หรือวิธีการง่าย ๆ ถ้าคุณมีโอที ก็เอาโอทีนั่นแหละ
เก็บไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้เราจัดการ
กับเงินเดือนได้ง่ายขึ้น
ในเฟสนี้ ถ้าทำได้สม่ำเสมอ สักประมาณ 4-5 ปี
ก็จะมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ประมาณ 60,000 บาท
หลายคนมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ภาระ
และความอยากไม่เท่ากัน อาจจะยืดหยุ่นได้
ตามสมควร ส่วนตัวผม มีเก็บเงินสำรองไว้
1 แสนบาทถ้วน (ทำไปใช้ไป ไม่ได้เก็บอย่างเดียว
จึงใช้เวลานานกว่า 5 ปี)
สรุปเฟสแรก มีเงินใช้ส่วนตัว และ มีเงินเก็บ
เฟส 2 หารายได้เสริม
ตรงนี้สำคัญ หลังจากทำงานประจำมาได้ 4-5 ปีแล้ว
เราต้องมีอาชีพ หรือรายได้ที่ 2 ให้ได้
เพราะการพัฒนาตัวเองก็เป็นส่วนสำคัญ
ที่จะทำให้เรามีความมั่นคงทางการเงินได้
ตัวผมหลังเลิกงาน ถ้าวันไหนเลิกเร็ว
ผมจะมาขายนาฬิกาเป็นรายได้เสริม ซึ่งเงินตรงนี้
เป็นเงินที่มีอิสระการใช้จ่ายมาก ตอนนั้นผมทำไป
ใช้ไป เอาไปหมุนลงทุนสต๊อกบ้าง
การเงินจึงมีสภาพคล่องสูงพอสมควร
(เงินส่วนหนึ่งตรงนี้ก็เอาไปซื้อสมาร์ทโฟนนั่นเอง
หลังจากนั้นผมก็เริ่มศึกษาการอ่านไพ่ทาโรต์
และก็เป็นรายได้เสริมอีกทางเช่นกัน
รายได้ที่ 2 ไม่จำเป็นต้องได้มากเท่าเงินเดือน
แต่ขอให้หารายได้เพิ่มเท่าเงินเก็บในตอนแรกคือ
2,000 – 3,000 บาทต่อเดือน ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
เฟส 3 เริ่มลงทุน
พอมีรายได้จากทางที่ 2 เพิ่มมากขึ้น ผมก็หา
ช่องทางการลงทุน ตามที่กูรูการเงินแนะนำ
การลงทุนที่ผมพูดถึงคือ การลงทุนระยะยาว
เป้าหมายคือ เป็นเงินที่เอาไว้กินตอนแก่นั่นเอง
ส่วนตัวผมลงทุนในกองทุนรวมแบบ DCA ทุกเดือน
ใน Set50 แบบไม่ปันผล ช่วงแรก เดือนละ 2,000
ตอนนี้ เดือนละ 3,000 เอาจริง ๆ ผมไม่รู้
เรื่องหุ้นเลย (ซื้อมาประมาณเกือบ 3 ปี ถึงจะเขียว)
และเหมือนเดิม เงินตรงนี้ห้ามเอาออกมาใช้เด็ดขาด
และต้องลงทุนทุก ๆ เดือน
เงินลงทุนตรงนี้เอาจริง ๆ ผมไม่รู้อนาคตเลย
ว่าตอนแก่จะได้ใช้เงินตรงนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่
เพราะมันเป็นเงินที่ผมทำใจไว้แล้วว่า
ถ้าเจ๊งก็ไม่เป็นไร ซึ่ง ณ ที่ผมเขียนอยู่ตอนนี้
กองทุนยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีอยู่
จุดที่ผมพลาด และเป็นประสบการณ์ในชีวิต
เลยก็คือ การไปลงทุนใน Forex และ
binary option ด้วยความโลภ บวกกับศึกษา
ยังไม่ดีพอและคิดว่าตัวเองแน่ ผมเสียเงินไปกับการ
ลงทุนรวมเป็นหลักแสนบาท (เทรดเอง) ไม่อย่างนั้น
การเงินคงจะปึ้กกว่านี้แน่ ๆ
สรุปรวมเฟส 1 2 และ 3
รายได้จากเงินเดือน > ใช้ส่วนตัว และ
เก็บสำรองฉุกเฉิน
รายได้ทางที่ 2 > ลงทุนในกองทุนรวม
ไว้ใช้กินตอนแก่
เฟสที่ 4 เงินสำรองฉุกเฉินเต็มถัง
ตอนที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ เป็นตอนที่
เงินสำรองฉุกเฉินของผมเต็มถังพอดี
(ใช้เวลานานมากตั้งแต่เริ่มทำงานมา)
และออกจากงานประจำมาได้ 4 ปีแล้ว
ในเฟสนี้ถ้าใครมาถึง จะเป็นจุดที่สบายที่สุด
เพราะว่าเงินสำรองก็มีพอแล้ว (พอไม่พอแล้วแต่คน)
มีเงินเดือน มีรายได้ทางที่ 2 3 4 และมีพอร์ท
กองทุนรวมที่ DCA ทุกเดือน และเราจะไป
เฟสที่ 5 กัน
เฟสที่ 5 ซื้อประกัน ซื้อสลากออมสิน
ตอนนี้คุณจะเริ่มมีเงินเหลือ เราก็ต้องปิด
กั้นความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันเล็ก ๆ น้อย ๆ
ตอนนี้ผมมีประกันอุบัติเหตุ แบบจ่ายทิ้งเดือนละ
400 กว่าบาท เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
และกำลังมองหาประกันสุขภาพแบบที่จ่าย
ไม่แพงอยู่
จริง ๆ เรื่องประกันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เพราะจะป้องกันไม่ให้เงินที่เราหามาทั้งชีวิต
หายวับไปกับตา
และอาจจะเจียดเงินมีซื้อสลากออมสินด้วยก็ได้
เพราะได้เสี่ยงโชค แบบเงินต้นไม่หาย (ตรงนี้
ไม่ฟิกมาก มีมากซื้อน้อย ซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจ)
สรุปเฟส 4 และ 5
เงินสำรองฉุกเฉินเต็มถัง > นำเงินที่ต้องเก็บตรงนี้
ไปซื้อประกัน สลากออมสิน และ DCA กองทุน
ไปเรื่อย ๆ
ตัวผมเองยังห่างไกลเรื่องอิสระทางการอยู่มาก
แต่ก็พยายามรักษาสุขภาพทางการเงินให้ดีอยู่ตลอด
ที่สำคัญคือ ห้ามเป็นหนี้บริโภคเด็ดขาด ยับยั้งชั่งใจ
ทุกครั้งที่กำลังจะซื้อของที่ไม่จำเป็น แล้วบริหาร
การเงินแบบที่ผมกล่าวไปข้างต้น จะน่าจะทำให้
สุขภาพการเงินดีขึ้นได้ไม่ยากครับ
biwFreeStyle